top of page
  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon
  • Black Twitter Icon

“ออฟฟิศซินโดรม” เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

“ออฟฟิศซินโดรม”เป็นโรคที่พบได้ในคนจำนวนมาก หลากหลายอาชีพโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงาน เพราะด้วยการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความเร่งรีบ ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือมีเวลาพักกล้ามเนื้อในส่วนที่มีการใช้งานบ่อยๆได้

“ออฟฟิศซินโดรม”เป็นโรคที่พบได้ในคนจำนวนมาก หลากหลายอาชีพโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงาน เพราะด้วยการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความเร่งรีบ ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือมีเวลาพักกล้ามเนื้อในส่วนที่มีการใช้งานบ่อยๆได้

จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 ขึ้นไป) จำนวน 28.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3  ส่งผลให้ผู้ที่ทำงานในสำนักงานมีแนวโน้มที่จะมีโอกาสเป็นโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อสูงขึ้น เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ โดยตำแหน่งที่มักพบคือ บริเวณศีรษะและคอคิดเป็นร้อยละ 42 หลังส่วนล่างคิดเป็นร้อยละ 34 หลังส่วนบนคิดเป็นร้อยละ 28 ข้อมือและมือคิดเป็นร้อยละ 20 และไหล่คิดเป็นร้อยละ 16 นอกจากนี้ยังพบได้น้อยในบริเวณตำแหน่งอื่น ๆ คือ ข้อเท้าและเท้าคิดเป็นร้อยละ 13 เข่าคิดเป็นร้อยละ 12 สะโพกคิดเป็นร้อยละ 6 และศอกคิดเป็นร้อยละ 5 โดยโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับงานทางกายภาพบำบัด

 

อาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อย ได้แก่

·         ปวดคอ (Neck pain)

·         กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)

·         เอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ (Biceps, Supraspinatus tendinitis)

·         กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (Tennis elbow)

·         กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านในอักเสบ (Golfer elbow)

·         เอ็นรัดข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome)

·         ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ(De Quervain’s tenosynovitis )

·         นิ้วล็อก (Trigger finger)

·         ปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain)

·         เส้นประสาทมีความตึงตัว (Nerve tension)

สาเหตุ

·         การนั่งทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน

·         ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม หลังค่อม ก้มหรือเงยคอมากเกินไป

·         สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม

·         สภาวะเครียดจากการทำงาน

·         การพักผ่อนไม่เพียงพอ

จากสาเหตุข้างต้นทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ ในภาวะปกติกล้ามเนื้อจะมีการหดตัวและคลายตัวเพื่อทำงาน เมื่อเราใช้งานในลักษณะเดิมเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งหดตัวตลอดเวลาเมื่อถึงจังหวะเวลาที่กล้ามเนื้อต้องคลายตัวแต่กลับคลายตัวไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวลำบาก เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ จนเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และนำไปสู่กระบวนการอักเสบและการสร้างพังผืด เมื่อปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดพังผืดยึดเกาะบริเวณกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อนั้นมีความทนทานต่อการใช้งานลดลง ง่ายต่อการบาดเจ็บซ้ำ และยังส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นไม่สามารถขับของเสียที่เกิดจากการใช้งานออกไปได้ เนื่องจากการไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นไม่ดี ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจนแสดงอาการปวดออกมา นอกจากนี้ความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสมก็ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

หากมีอาการออฟฟิศซินโดรมที่รุนแรงขึ้น ควรพิจารณาการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้:

  1. กายภาพบำบัด – ใช้เทคนิคการยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเฉพาะจุดเพื่อบรรเทาอาการรวมถึงการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูอาการ

  2. การนวดบำบัด – นวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

  3. การฝังเข็ม – ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและลดอาการปวด

  4. การใช้ยาแก้ปวดและต้านอักเสบ – เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ

  5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน – ปรับท่านั่งและการทำงานให้เหมาะสมเพื่อลดอาการและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

  6. การออกกำลังกายแบบเฉพาะทาง – เช่น โยคะ พิลาทิส หรือกายบริหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดความเครียดของร่างกาย

 

Office Syndrome จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทำงาน วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเช่น การปรับท่าทางให้ถูกต้อง การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายสามารถช่วยให้แม่บ้านทำงานในบ้านได้อย่างมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงจาก Office Syndrome ได้.หากท่านกำลังจะมองหาทางเลือกทำกายภาพบําบัดรักษาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่าไหล่ พีสมาร์ท คลินิกกายภาพบำบัด ขอเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆที่พร้อมช่วยดูแลรักษาคุณอย่างตรงจุด โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคืนอิสระให้ทุกความเคลื่อนไหว หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ พีสมาร์ท คลินิกกายภาพบำบัด

​Treatment

bottom of page